24 ก.ย. 2560
นักวิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่ากฎแห่งกรรมนั้นมีอยู่จริง
มหาวิทยาลัย Cardiff ของอังกฤษและมหาวิทยาลัย Texas ของอเมริกา ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยพบว่า "ทำชั่วได้ชั่ว" นั้น สามารถพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้ ผลของการศึกษาสรุปได้ว่า เยาวชนที่ทำผิดกฎหมายแม้ว่าจะมีร่างกายที่แข็งแรงล่ำสันกว่าเยาวชนในวัยเดียวกันที่ปฏิบัติตามกฎหมาย แต่เมื่อมีอายุเข้าสู่วัยกลางคนแล้ว สุขภาพของพวกเขาจะเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือพิการมากกว่าคนทั่วไปหลายเท่า
เมื่อจิตของคนคิดถึงสิ่งที่เป็นกุศล คิดในเชิงบวกอย่างจริงใจ ร่างกายจะหลั่งสารที่มีผลให้เซลล์แข็งแรงขึ้นออกมา
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสารเคมีของระบบประสาทในร่างกายมนุษย์แล้วพบว่า เมื่อมนุษย์มีจิตใจที่คิดในเรื่องดี (เป็นกุศล) และคิดในเชิงบวก ร่างกายจะหลั่งสารสั่งการประสาทที่ทำให้เซลล์แข็งแรงออกมา ช่วยคุ้มครองเซลล์ให้ตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า ทำให้ไม่ป่วยง่าย และถ้ารักษาจิตใจแบบนี้ไว้ได้เสมอ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะแข็งแรง แต่ถ้าจิตมีความคิดในเรื่องที่ไม่ดี (เป็นอกุศล) คิดในเชิงลบ ระบบประสาทก็จะกลับกลายไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง คือจะถูกกระตุ้นให้เป็นไปทางเสื่อม ระบบภูมิคุ้มกันก็จะถูกกดเอาไว้ ความสามารถของร่างกายและระบบการไหลเวียนจะถูกทำลาย ดังนั้น คนดีมีคุณธรรมจึงมักจะแข็งแรงและอายุยืนมากกว่าคนเลว
นอกจากนี้ นิตยสารฉบับหนึ่งในอเมริกาเคยรายงานผลการวิจัยในหัวข้อ "อารมณ์ร้ายก่อสารพิษ" ระบุว่า จากการทดลองในห้องแลบพบว่า ความคิดที่ชั่วร้ายสามารถทำให้สารเคมีในร่างกายคนเปลี่ยนแปลงกลายเป็นสารพิษในกระแสเลือดได้ กล่าวคือในภาวะอารมณ์ปกติเมื่อคนพ่นลมหายใจเข้าไปในหลอดแก้วที่วางไว้ในน้ำแข็ง ไอน้ำจากลมหายใจที่เกาะอยู่บนหลอดแก้วจะโปร่งใสและไม่มีสี แต่เมื่อคนมีอารมณ์เคียดแค้น พยาบาท โกรธ กลัว หรือริษยา ไอน้ำที่เกาะบนหลอดแก้วจะเปลี่ยนไปเป็นสีต่าง ๆ กัน และเมื่อนำไปวิเคราะห์ทางเคมีจึงพบว่า ความคิดในเชิงลบของมนุษย์ก่อให้เกิดสารพิษในของเหลวในร่างกายได้
เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเยลร่วมกับมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในหัวข้อ "ความสัมพันธ์ในสังคมมีผลอย่างไรต่ออัตราการเสียชีวิตของคน" ผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างประชากร ๗,๐๐๐ คน และติดตามสังเกตผลอยู่เป็นเวลานานถึง ๙ ปี พบว่าคนที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่นและมีชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นสุข จะมีสุขภาพดีและอายุยืนกว่าคนที่ชอบคิดร้าย จิตใจคับแคบและเห็นแก่ตัว ยิ่งกว่านั้น คนในกลุ่มที่สองนี้ยังมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าคนปกติ ๑.๕ ถึง ๒ เท่า
แม้ว่าจะมีความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ ฐานะทางสังคม และพฤติกรรมการออกกำลังกายของคนในกลุ่มทดลอง แต่ผลการศึกษาก็ได้ข้อสรุปออกมาตรงกันหมด ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงรายงานสรุปผลการวิจัยได้ว่า การเป็นคนดีสามารถทำให้อายุยืนได้
มีงานวิจัยอีกมากที่ได้ข้อสรุปออกมาตรงกัน นั่นก็คือจิตใจที่บริสุทธิ์ เป็นกุศล คิดในเชิงบวกสามารถทำให้ชีวิตแข็งแรงและเป็นสุขได้ ส่วนจิตใจที่ชั่วร้ายจะทำให้ร่างกายเสียสมดุลและเจ็บป่วย นี่คือการค้นพบในวงการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งความรู้เหล่านี้มีบันทึกไว้ในภูมิปัญญาโบราณของจีนมานานนับพันปีแล้ว เช่น ขงจื๊อเคยกล่าวว่า "ผู้มีเมตตาจะมีอายุยืน" หรือในตำราแพทย์แผนจีนโบราณมีกล่าวไว้ว่าอารมณ์ที่ผ่องใส "โรคภัยจะไม่มากล้ำกราย" เป็นต้น
พวกอเทวนิยมอาจจะบอกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นแค่ผลทางด้านจิตวิทยาเท่านั้น ศีลธรรมนั้นล้วนกำหนดขึ้นโดยมนุษย์ทั้งสิ้น ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนตายตัวอะไร ความดีความชั่วก็ไม่มีมาตรฐานอะไร คนดีคนเลวก็เกิดจากการนิยามของคนด้วยกันทั้งนั้น ถ้าเราไม่ได้เติบโตและถูกกล่อมเกลามาภายใต้ระบบศีลธรรมแบบนี้ ก็จะไม่มีความรู้สึกผิดบาปและไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพได้อย่างนี้หรอก
แต่ในความเป็นจริงนั้นกลับตรงกันข้าม การวิจัยของนักวิทยาศาสตร์เมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า พฤติกรรมดีและชั่วนั้นมีคลื่นของพลังงานที่มีความถี่แตกต่างกัน มีคุณสมบัติทางฟิสิกส์แตกต่างกัน เด็กทารกที่เพิ่งคลอด ยังไม่ผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคมใด ๆ ทั้งสิ้น ล้วนมีธาตุเดิมที่ดีเหมือนกันหมด เมื่อคนจะพูดโกหก หลอกลวง ไม่ว่าเขาจะมีอารมณ์สงบนิ่งเพียงใดก็ตาม กายภาพของร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยที่เจ้าตัวไม่สามารถควบคุมได้ และเราสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ด้วยเครื่องมือจับเท็จที่ละเอียดอ่อน ร่างกายมนุษย์เหมือนจะแปรผันไปตามกฎเกณฑ์บางอย่างที่แน่นอน ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะในจิตของคนเท่านั้น
งานวิจัยเรื่องผลึกน้ำ (โดย Dr. Masaru Emoto) ซึ่งเป็นงานวิจัยแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ที่ส่งผลสะเทือนไปทั่วโลกนั้นพบว่า วัตถุต่าง ๆ ล้วนมีจิตวิญญาณทั้งสิ้น ความดีความชั่วดูเหมือนจะมีมาตรฐานที่แน่นอนในธรรมชาติ ไม่ใช่แค่เรื่องที่มนุษย์จินตนาการคิดขึ้นมาเองเท่านั้น เมื่อน้ำได้สัมผัสกับข้อความที่เป็นบวก เช่น ความรัก ความเมตตา ความสุข กำลังใจ หรืออยู่ในที่ที่มีเสียงดนตรีไพเราะ ผลึกน้ำนั้นจะสวยงามและแข็งแรง แต่เมื่อน้ำได้สัมผัสกับข้อความที่เป็นลบ ผลึกน้ำนั้นจะเสียรูป บิดเบี้ยว หรือแตกสลายไม่เป็นรูปร่างไปเลย
น้ำคือฐานกำเนิดของชีวิต ในร่างกายคนประกอบด้วยน้ำ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ เมื่อคนอยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ กันไป สมรรถภาพทางร่างกายของคนก็จะแปรเปลี่ยนไปตามสภาวะนั้น ๆ ด้วยเหมือนกัน
ช่วงปลายของศตวรรษที่ ๒๐ มีการศึกษาอย่างจริงจังในเรื่อง "ประสบการณ์ของคนใกล้ตาย" และ "การสะกดจิตเพื่อย้อนดูอดีตชาติ" การศึกษาเหล่านี้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้ให้ข้อมูลใหม่ ๆ แก่โลกมากมายเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด โลกในอีกมิติหนึ่ง กฎแห่งกรรม ตลอดจนสวรรค์และนรกที่ล้วนมีอยู่จริง เมื่อคนทำบาปหรือทำกรรมไม่ดีกับใครไว้ ถ้าไม่ได้รับผลภายในชาตินี้ ก็เป็นไปได้ว่าจะต้องไปชดใช้กรรมนั้นต่อในชาติหน้า และต่อ ๆ ไปจนกว่าจะชดใช้หนี้กรรมนั้นหมด แม้ว่าคน ๆ นี้จะได้มาเกิดใหม่แล้วก็ตาม ชาติกำเนิดและวาสนาต่าง ๆ ของเขาก็เป็นผลมาจากกรรมที่เขาสั่งสมไว้ในชาติก่อนด้วย
ความจริงที่ค้นพบนี้ตรงกับคำโบราณของจีนที่ว่า "ทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว ถ้ายังไม่ได้รับตอนนี้ ก็แปลว่ายังไม่ถึงเวลา ถึงเวลาเมื่อไร ต้องรับไปทั้งหมดทั้งสิ้น" อันนี้ไม่ใช่คำสอนที่คิดขึ้นเอาเองจากการจินตนาการเลย ในประวัติศาสตร์และในชีวิตจริงก็มีตัวอย่างให้เราเห็นเป็นประจักษ์อยู่แล้วมากมาย สอดคล้องกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีการค้นพบในปัจจุบันนี้
ทำไมเมื่อคนทำชั่วแล้วต้องได้รับผลไม่ดี หรือว่าในโลกแห่งวัตถุที่เราเห็นอยู่นี้มีมือที่เรามองไม่เห็นกำลังจัดการกับสิ่งทั้งหลายอยู่? คนโบราณว่า "ตาข่ายแห่งฟ้านั้นกว้างใหญ่ไพศาล แม้เบาบางห่างถี่ก็ไม่มีที่รั่วไหล" หรือ "แม้นว่าดีชั่วไม่มีผล โลกและสวรรค์คงมีแต่ความเห็นแก่ตัว" วิถีแห่งจักรวาลเป็นไปตามกฎเกณฑ์อันยุติธรรม จึงจะเป็นหลักประกันให้โลกทางวัตถุทั้งหลายมีความสมดุลและตั้งอยู่ได้ ดังนั้น คนดีจึงต้องได้รับผลดี คนชั่วต้องได้รับผลชั่ว
ทำไมต้องให้คนที่ทำชั่วได้รับภัยภิบัติและทุกข์ทรมานด้วยล่ะ? ทำไมต้องให้คนทำดีได้ดี ไม่ให้คนทำชั่วได้ดีล่ะ? นี่คือการเปิดเผยสัจจะที่เป็นจริงยิ่งกว่าสิ่งใด กล่าวคือเบื้องหลังของโลกแห่งวัตถุมีกฎเกณฑ์หรือคุณสมบัติที่แน่นอนดำรงอยู่ และความดีหรือกุศลก็มีความผสานสอดคล้องไปกับคุณสมบัติข้อนี้พอดี จึงดำรงอยู่ได้ยาวนาน ในขณะที่ความชั่วหรืออกุศลจะขัดแย้งกับกฎของจักรวาลหรือวิถีแห่งธรรมชาติ (เต๋า) จึงแตกสลายได้ง่าย ดังที่เหลาจื่อ (老子 ศาสดาแห่งศาสนาเต๋า) ได้กล่าวไว้ว่า "วิถีแห่งฟ้านั้นไร้ความลำเอียง และจะอยู่เคียงข้างคนดีเสมอ"
วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยึดถือกันมากในเรื่องหลักฐานที่พิสูจน์ได้ เมื่อมีหลักฐานข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากแล้ว คนจึงจะยอมรับและเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังนั้น ความเชื่อตามจารีตที่มีมาอย่างยาวนาน ถูกบดบังด้วยข้อจำกัดของเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ ทำให้ความจริงบางอย่างถูกตีทิ้งและเพิกเฉย กฎแห่งกรรมก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วยเหมือนกัน
ถึงแม้ว่าในระยะเวลานับร้อยนับพันปีมาแล้วที่ความเชื่อในกฎแห่งกรรมจะได้รับการสืบต่อกันมาจากปากต่อปากและแพร่หลายอยู่ในวิถีแห่งชาวบ้าน แม้ว่าจะมีบันทึกเรื่องจริงเป็นหลักฐานในหนังสือหลายเล่ม เช่น "มรรควิธีสร้างกุศลปัดเป่าภัย" หรือ "บันทึกเรื่องกรรมอันเป็นเหตุ" เป็นต้น ซึ่งสามารถยืนยันความจริงในกฎแห่งกรรมว่ามีจริงได้ แต่กลไกการทำงานของการสร้างผลแห่งกรรมในระหว่างนั้นเป็นอย่างไรไม่มีปรากฏ จึงยากที่จะทำให้คนยอมรับและเข้าใจได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น จึงไม่มีใครเห็นถึงกระบวนการทำงานของกรรม เรารู้ได้ก็แต่ผลที่ได้รับเท่านั้น
ศาสตราจารย์สตีเฟ่น โพสต์ (Stephen Post) ภาควิชาจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ (Case Western Reserve University) ของอเมริกา ได้ร่วมกับนักเขียนนวนิยาย จิล นายมาร์ค (Jill Neimark) ทำการศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง "การให้" และ "ผลที่ได้รับ" ของพฤติกรรมที่เป็นความดีของมนุษย์ ว่าเกิดขึ้นในลักษณะอย่างไร โดยใช้แนวทางการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์และการแพทย์สมัยใหม่เป็นจุดเริ่มต้น
ผู้วิจัยได้กำหนดตัวชี้วัดอย่างละเอียดและติดตามผลเป็นเวลายาวนานจากคนกลุ่มหนึ่งที่มีความยินดีใน "การให้" อยู่เสมอ จัดแบ่งประเภทของ "การให้" และ "ผลที่ได้รับ" นำมาทำการวิเคราะห์ทั้งด้านวัตถุและชีวภาพ จนพบว่า "การให้" ก่อให้เกิด "ผลต่อการรักษาโรค" และมีผลต่อ "ดัชนีวัดความสุข" ได้ด้วย กล่าวคือ คนที่มีนิสัย "ใจบุญสุนทาน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น" พฤติกรรมของเขามีผลอย่างลึกซึ้งต่อสภาวะของจิตใจและความแข็งแรงร่างกายของตนเอง รวมทั้งความสามารถทางสังคม ความสามารถในการตัดสินใจ อารมณ์ในเชิงบวก เป็นต้น ตัวชี้วัดเหล่านี้จะพัฒนาในทางที่ดีขึ้นทั้งหมด
แม้แต่การยิ้มให้ผู้อื่นอย่างจริงใจ หรือเล่นมุขตลกแสดงอารมณ์ขันอย่างเป็นมิตรสักเรื่องหนึ่ง พฤติกรรมง่าย ๆ เท่านี้ก็สามารถทำให้สารภูมิต้านทานในน้ำลาย (immunoglobulin) มีความเข้มข้นสูงขึ้นแล้ว
เมื่อพวกเขาสรุปข้อมูลจากงานวิจัยกว่าร้อยโครงการในมหาวิทยาลัยหลัก ๆ ของอเมริกาสี่สิบกว่าแห่ง ผนวกกับข้อมูลจากการติดตามผลจากกลุ่มทดสอบเป็นเวลายาวนาน พวกเขาได้นำเสนอข้อมูลที่น่าตื่นเต้นแก่โลกว่า พฤติกรรมที่ดีของคน เช่น การชมเชย การให้อภัย ความกล้าหาญ อารมณ์ขัน การให้เกียรติ ความเห็นใจ ความซื่อสัตย์ เป็นต้น "การให้" ด้วยพฤติกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า "ระหว่าง การให้ และ การได้รับผล มีการเปลี่ยนแปลงทางพลังงานอย่างลึกลับและพิสดาร กล่าวคือ ในขณะที่คน ๆ หนึ่งกำลังมีพฤติกรรม "การให้" นั้น พลังงานของ "การได้รับผล" ก็กำลังย้อนกลับเข้าหาคนผู้นั้นผ่านทางรูปแบบต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เพียงแต่ในสถานการณ์ส่วนใหญ่แล้วเจ้าตัวจะไม่รู้ตัวเลย...
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาด้านประสาทชีวเคมี (Neurochemistry) ก็ค้นพบปรากฏการณ์บางอย่างจากงานวิจัย เมื่อมนุษย์มีความคิดในทางดีหรือคิดในเชิงบวก ร่างกายจะหลั่งสารกระตุ้นประสาทที่ทำให้เซลล์แข็งแรงขึ้นออกมา เซลล์ภูมิคุ้มกันก็จะตื่นตัวขึ้นด้วย ทำให้คนไม่ป่วยง่าย ถ้ามีความคิดในทางดีอยู่เสมอเป็นปกติ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะแข็งแรง แต่ถ้าคิดในทางไม่ดีหรือคิดในเชิงลบ ก็จะทำให้ระบบประสาททำงานไปอีกทิศทางหนึ่ง นั่นคือระบบที่เป็นลบจะถูกกระตุ้นให้ทำงาน และระบบที่เป็นบวกจะถูกยับยั้งเอาไว้ การไหลเวียนที่ดีตามสมรรถภาพของร่างกายจะถูกทำให้เสียหาย
จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เหล่านี้ กฎแห่งกรรมได้มีอิทธิพลต่อการให้คุณค่าในชีวิตและอยู่เหนือกว่าการชี้นำโดยความเชื่อแบบเทวนิยมไปเสียแล้ว อีกทั้งมนุษยชาติทั้งมวลล้วนพัฒนาและดำรงอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์พื้นฐานอันนี้ทั้งสิ้น งานวิจัยเหล่านี้ยังเป็นการพิสูจน์โดยอ้อมสำหรับความเชื่อของคนโบราณเกี่ยวกับผลของการทำดีทำชั่วด้วย มันยืนยันว่าความเชื่อแบบนี้ไม่ใช่เป็นเพียงความคิดที่คับแคบและโง่เขลาแต่อย่างใด แต่มันคือรากฐานในการเข้าใจชีวิตของหมู่ชนจำนวนมากในสมัยอดีตเลยทีเดียว
ความเชื่อในเรื่องกรรมยังสามารถอธิบายได้ด้วยว่าความคิดของมนุษย์นั้นเปิดกว้างและมีภูมิปัญญาอย่างไร จิตใจที่เปิดกว้างทำให้เรามีชีวิตที่อ่อนน้อมถ่อมตนต่อสิ่งที่ยังไม่รู้ เพราะความเชื่อแบบนี้โดยตัวมันเองก็คือท่าทีที่เปิดกว้างอย่างหนึ่ง คนโบราณจึงไม่อาจใช้ความคิดแบบสุดโต่งได้ตามใจชอบ และไม่ปิดกั้นทางออกของตนเอง ในโลกของวิธีคิดแบบนี้เราจึงสามารถหลุดพ้นออกจากกรอบกรงของจิตที่เลวได้ไม่ยากนัก
ก็เหมือนกับคำกล่าวในตำราแพทย์แผนจีนโบราณที่ว่า "รักษาคุณงามความดีในใจไว้ สิ่งชั่วร้ายก็จะไม่มาแผ้วพาน" ชีวิตก็จะแข็งแรง อายุยืน เป็นอยู่ผาสุก สุดท้ายนี้ขอให้เราทั้งหลายจงจดจำไว้ว่า อย่าเห็นว่าเป็นเรื่องชั่วเล็ก ๆ น้อย ๆ จึงทำ อย่าเห็นว่าเป็นเรื่องดีเล็ก ๆ น้อย ๆ จึงไม่ทำ
รวบรวมและเรียบเรียงโดย 京博国学
ที่มา https://view.inews.qq.com/a/20170913A00WUP00
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ทำไมผมจึงเลิกกินเนื้อสัตว์
วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลาประมาณบ่ายโมง ผมกุมมือแม่อยู่ข้างเตียงคนไข้ในโรงพยาบาล พร่ำพูดที่ข้างหูของแม่ว่าให้นึกถึงความดี...
-
โลกเรานี้ยังมีชนเผ่าที่แปลก ๆ อยู่ไม่น้อยเลย หลาย ๆ ชนเผ่ามีเอกลักษณ์ที่ประหลาดพิสดารอย่างเหลือเชื่อ เช่น มีชนเผ่าหนึ่งอยู่บนเกา...
-
ถั่วลิสงเป็นอาหารที่คนจีนนิยมกินกันมาแต่โบราณ ว่ากันว่า การกินถั่วลิสงสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดและป้องกันโรคหัวใจ...
-
ใกล้จะครบสามเดือนแล้วที่ฉันได้เลิกกินเนื้อสัตว์ บางคนคิดว่าฉันเลิกเนื้อสัตว์เพื่อรักษาสุขภาพ บางคนก็คิดว่าฉันต้องการรักษารูปร่าง...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น